image
11/12/2018

Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) มีสีใดบ้าง

      Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ)

                เพชรที่เกิดจากคาร์บอนบริสุทธิ์โดยไม่มีสิ่งปนเปื้อนจะเป็นเกรดเพชรที่ไม่มีสี อย่างไรก็ตาม เพชรธรรมชาติและ Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) ส่วนใหญ่จะมีสิ่งปนเปื้อนซึ่งมักจะเป็นธาตุไนโตรเจน อะตอมไนโตรเจนที่อยู่ภายในโครงสร้างผลึกเพชรนี่เองคือสิ่งที่ทำให้เพชรมีสีเหลือง ในกรณีของเพชรสีแฟนซีจะมีการสร้างเพชรสีเหลืองบริสุทธิ์ขึ้น ทั้งนี้ เพชรเกือบทั้งหมดทั้งจากธรรมชาติและที่เป็น Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) จะเริ่มต้นจากการเป็นเพชรสีเหลืองนั่นเอง 

ระยะเวลากว่าหลายล้านปีที่ต้องเผชิญกับแรงดันและความร้อนนั้น ทำให้อะตอมของธาตุไนโตรเจนภายในโครงสร้างผลึกของเพชรธรรมชาติถูกแยกตัวจนมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงสีเหลืองได้ การแยกตัวของอะตอมไนโตรเจนนี่เองที่ทำให้เพชรมีสีขาว

ระยะเวลาการเพาะ

                   การเพาะเพชรสีขาวต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด  ความร้อนและแรงดันที่ใช้ต้องคงที่ตลอดระยะเวลาการเพาะ ความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ภายในเซลล์อาจทำให้เพชรหยุดโตหรือทำให้เกิดตำหนิขนาดใหญ่ได้

                   การสกัดธาตุไนโตรเจนและธาตุโบรอนออกจากเซลล์เพื่อขจัดสีออกจากโครงสร้างผลึกทำให้เพชรโตช้าลง โดย  เพชรสีขาวมักใช้เวลาประมาณ 10 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น เพื่อให้ได้เพชรดิบขนาดที่ 1.0 กะรัต

                  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเพาะที่ยาวนาน ทั้งมีความจำเป็นที่จะต้องสกัดเพียงธาตุที่เฉพาะเจาะจงจากเซลล์ที่เพาะ รวมไปถึงการคอยรักษาความร้อนและแรงดันให้คงที่อยู่เสมอตลอดช่วงเวลาที่เพาะ ทำให้การเพาะเพชรสีขาวนั้น ทำได้ยากและผลิตได้จำนวนจำกัด

 

การเปรียบเทียบราคา

                   Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) สีขาวต่างจากเพชรสีขาวที่ขุดจากเหมืองเนื่องจากมีการผลิต White Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีขาว) ในปริมาณที่จำกัด อีกทั้งกระบวนการที่ใช้ในการเพาะเพชรสีขาวใช้เวลาและการรักษาอุณหภูมิที่มากกว่า Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ)สีอื่น ในขณะที่เพชรธรรมชาติสีขาวมีอยู่ทั่วๆไป ทำให้ต้นทุนของเพชรสองขนิดนี้ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดย Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) 1.0 กะรัต จะมีราคาตั้งแต่ 100,000 ถึง 250,000 บาท ราคาของ Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ)นั้น ใกล้เคียงกับเพชรที่ขุด โดยคิดจากการเจียระไน ขนาด กะรัต สี และความบริสุทธิ์เพื่อกำหนดมูลค่าของเพชรแต่ละเม็ด

รูปทรงที่สามารถผลิตได้

เพชรดิบสีขาวมีลักษณะที่ค่อนข้างเหลี่ยม ทำให้รูปทรงเหลี่ยม เช่น  ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงปริ๊นเซสส์ ทรงเหลี่ยมขั้นบันได ทรงหมอน และทรงสี่เหลี่ยมมรกต เป็นที่นิยมในการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเพชรดิบสีขาว ส่วนทรงรี เช่น ทรงลูกแพร์ ทรงไข่ และทรงมาคีส์ มักไม่ค่อยมีการผลิตเพราะจำเป็นต้องใช้เพชรดิบที่ค่อนข้างยาวรี

การเจียระไน

White Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีขาว)จะถูกเจียระไนด้วยมือทุกเม็ด เพชรทุกเม็ดนั้นจะมาพร้อมกับการจัดเกรดโดย IGI (International Gemological Institute) ซึ่งจะแสดงเกรดการเจียระไนในใบรายงานการรับรองด้วย เพชรทุกเม็ดจะได้รับการเจียระไนเพื่อให้แสดงประกายและสีสันอย่างเต็มที่

ความบริสุทธิ์

ความบริสุทธิ์ของ White Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีขาว)จะได้รับการประเมินเช่นเดียวกับเพชรที่ขุดจากเหมือง โดยทั่วไปนั้น จะมีตั้งแต่ IF ถึง SI2 การจัดเกรดทั้งหมดจะทำโดย IGI และใบรับรองนี้จะมีให้กับ White Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีขาว)ที่ ทาง LenYa จัดจำหน่าย

 

Yellow Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีเหลือง)


 

Yellow Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีเหลือง) มีลักษณะทางแสง ทางเคมี และทางกายภาพเหมือนกันกับเพชรสีเหลืองที่ขุดจากเหมือง สีที่สามารถผลิตได้มีตั้งแต่ สีเหลืองแฟนซี ไปจนถึง สีเหลืองสดใสแฟนซี โดยมีขนาดจนถึง 2.0 กะรัตและสามารถทำได้หลายรูปทรง

ทั้งเพชรธรรมชาติและ Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) ได้สีเหลืองมาจากธาตุไนโตรเจน แม้เพชรจะเกิดจากคาร์บอน แต่ก็มีสิ่งเจือปนอื่นๆในหินนั้นอยู่ด้วย การสะสมตัวของสิ่งเจือปน หรือในกรณีนี้คือธาตุไนโตรเจนนี่เอง ที่จะทำให้เพชรมีสีเหลือง ระหว่างที่เพชรกำลังโตขึ้น บางครั้ง อะตอมของไนโตรเจนจะเข้าไปแทนที่อะตอมของคาร์บอนภายในโครงสร้างผลึกของเพชร ทำให้เมื่อแสงตกกระทบกับเพชร ไนโตรเจนที่อยู่ในเพชรจึงสะท้อนแสงออกมาเป็นสีเหลือง

การควบคุมปริมาณธาตุไนโตรเจนในระหว่างกระบวนการเพาะเพชรทำให้สามารถเลือกสีของเพชรเมื่อเพาะเสร็จได้ ยิ่งมีธาตุไนโตรเจนมากเท่าไหร่ เพชรก็จะยิ่งมีสีเหลือง แต่หากมีธาตุไนโตรเจนมากเกินไปแล้ว เพชรจะเริ่มปรากฏเป็นสีน้ำตาล ในระหว่างกระบวนการเพาะเพชร จึงมีการใช้ "Getters" เพื่อดึงเอาธาตุไนโตรเจนส่วนเกินออกจากเซลล์ที่เพาะ การใช้ getters นี้เองที่ทำให้เราสามารถเพาะเพชรสีเหลืองที่มีสีของอัญมณีตามเฉดที่ต้องการมากที่สุดได้

Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ)จำนวนมากจะมีสีเหลืองและสีส้ม/เหลือง เพชรที่เพาะขึ้นจะมีสีส้มจากตัวทำละลายที่ใช้ในกระบวนการเพาะ เพชรเหล่านี้ถูกเพาะในสารละลายของโลหะที่หลอมละลาย โดยสีส้มจะมาจากการที่ตัวทำละลายนั้นตกค้างอยู่ในโครงสร้างผลึกเพชรระหว่างการเพาะเพชรขึ้นมา เมื่อตัวทำละลายเหล่านี้รวมกับธาตุไนโตรเจนที่ติดอยู่ในโครงสร้างผลึกของเพชรทำให้เพชรมีสีส้ม/เหลือง

การตัดสินใจเลือกซื้อเพชรสีเหลืองหรือสีส้ม/เหลืองนั้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัวของผู้ซื้อ โดยสีที่เราจัดจำหน่ายอยู่มีทั้งสีที่นิยมเพาะขึ้นมาและสีที่นิยมซื้อขายกัน

การเปรียบเทียบราคา

เพชรสีเหลืองแฟนซีค่อนข้างหาได้ยากในธรรมชาติ ในขณะที่ Yellow Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีเหลือง) มีต้นทุนน้อยกว่าเพชรธรรมชาติประมาณ 75% เพชรสังเคราะห์สีเหลืองมีผลิตออกมามากที่สุดเนื่องจากเป็นสีที่ง่ายที่สุดในการเพาะ ส่งผลให้เป็นเพชรสีที่ราคาแพงน้อยที่สุด  เพชรสังเคราะห์สีเหลืองนั้น มีราคาตั้งแต่ 3,000 ถึง 5,000 เหรียญต่อกะรัต  ถ้าคิดเป็นเงิน ไทย เแค่เพียง  90,000 บาท  ถึง 165,000 บาท ในขณะที่เพชรสีเหลืองที่ขุดได้ตามธรรมชาติจะมีราคาสูง ตั้งงแต่ 10,000 ถึง 50,000 เหรียญ ถ้าคิดเป็นเงินไทย สูงถึง 330,000 บาท ถึง  1,650,000  บาท เลยทีเดียว 

รูปทรงที่สามารถผลิตได้

เพชรดิบสีเหลืองส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปทรงแปดหน้าปลายตัด  ทำให้รูปทรงเหลี่ยม เช่น  ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงปริ๊นเซสส์ ทรงหมอน ทรงเหลี่ยมขั้นบันได และทรงสี่เหลี่ยมมรกต เป็นที่นิยมในการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเพชรดิบ ส่วนทรงกลมนั้นก็สามารถผลิตได้ แต่เนื่องจากรูปทรงตามธรรมชาติของเพชรดิบสีเหลืองเป็นทรงเหลี่ยม ดังนั้น ทรงรี เช่น ทรงลูกแพร์ ทรงไข่ และทรงมาคีส์ จึงมักไม่ค่อยมีการผลิต

 

Blue Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีน้ำเงิน) 

Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีน้ำเงิน) นั้น มีลักษณะทางแสง ทางเคมี และทางกายภาพเช่นเดียวกันกับเพชรสีน้ำเงินที่ขุดจากเหมือง เพชรสีนี้มักจะมาในขนาดที่เล็กกว่า 1.50 กะรัต และมีสีตั้งแต่ สีน้ำเงินอ่อนแฟนซี ไปจนถึงสีน้ำเงินเข้มแฟนซี

ทั้งเพชรธรรมชาติและ Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) มีสีน้ำเงินมาจากธาตุโบรอน แม้เพชรจะเกิดจากคาร์บอน แต่ก็มีสิ่งเจือปนอื่นๆในหินนั้นอยู่ด้วย การก่อเกิดของการสะสมตัวของสิ่งเจือปน หรือในกรณีนี้คือธาตุโบรอนนี่เอง ที่จะทำให้เพชรมีสีน้ำเงินระหว่างที่เพชรกำลังโตขึ้นนั้น การควบคุมปริมาณธาตุโบรอนในเซลล์ตามที่ต้องการ โดยการใส่เข้าไปภายในโครงสร้างผลึกของเพชร ทำให้สามารถควบคุมสีของเพชรที่เพาะได้ เมื่อแสงตกกระทบกับเพชร ธาตุโบรอนที่อยู่ในเพชรจึงสะท้อนแสงออกมาเป็นสีน้ำเงิน

การเปรียบเทียบราคา

เพชรสีน้ำเงินนั้นหาได้ยากอย่างมากในธรรมชาติและสามารถขายได้ตั้งแต่ 6 ถึง 15 ล้านบาทต่อกะรัต แต่ Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) ที่เป็นสีฟ้าแฟนซีส่วนใหญ่จะมีราคาตั้งแต่ 200,00 ถึง 400,000 บาทต่อกะรัต ซึ่งเป็น Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) ที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาเพชรสีแฟนซีเนื่องจากเวลาที่ใช้และการดูแลเอาใจใส่ที่จำเป็นเพื่อทำให้เกิดสีนี้ขึ้น


 

รูปทรงที่สามารถผลิตได้

เพชรดิบสีน้ำเงินส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นทรงลูกบาศ์กหกเหลี่ยม ทำให้รูปทรงกลมและตัดมุม  เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงหมอน ทรงเหลี่ยมขั้นบันได และทรงสี่เหลี่ยมมรกต เป็นที่นิยมในการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเพชรดิบ แต่เนื่องจากรูปทรงตามธรรมชาติของเพชรดิบสีน้ำเงินเป็นทรงลูกบาศ์กหกเหลี่ยม ดังนั้น ทรงปริ๊นเซสส์ และทรงรี อย่างเช่น ทรงลูกแพร์ ทรงไข่ และทรงมาคีส์ มักไม่ค่อยมีการผลิต

Pink Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีชมพู)

Pink Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีชมพู) ของ LenYa มีคุณลักษณะทางแสง ทางเคมี และทางกายภาพเช่นเดียวกันกับเพชรสีชมพูที่ได้จากการขุดเหมือง เพชรสีนี้มักจะมีในขนาดที่เล็กกว่า 2.0 กะรัต และมีสีตั้งแต่สีชมพูแฟนซีจนถึงสีชมพูเข้มแฟนซี

เพชรสีชมพูนี้ ต่างจาก Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บ) สีขาว สีน้ำเงิน และสีเหลืองที่เกิดสีขึ้นตั้งแต่กระบวนการเพาะเพชร เพชรสังเคราะห์สีชมพูจะเริ่มเกิดเป็นสีชมพูจากกระบวนการภายหลังการเพาะเพชรได้แล้ว ซึ่งจะเรียกกระบวนการเหล่านั้นว่า การฉายรังสี และ การ Annealing

มักจะมีการใช้เพชรสีเหลืองอ่อนในบางเฉดเพื่อผลิตเป็นเพชรสีชมพู โดยการฉายเพชรนั้นด้วยอิเล็คตรอนและนิวตรอน(การฉายรังสี) ที่ทำให้เราสามารถปรับโครงสร้างผลึกของเพชรและเกิดเป็นสีใหม่ขึ้นตรงกลาง ต่อมา จะเป็นขั้นตอนการอบอ่อนหรือ Annealing โดยเพชรนี้จะอบด้วยความร้อนเพื่อช่วยการในเรียงตัวของโครงสร้างผลึกที่ถูกปรับแต่งมาจากการฉายรังสี ทำให้สีของเพชรคงที่

สีอื่นๆนอกไปจากนี้ เช่น สีม่วง สีแดง และสีเขียว ก็สามารถผลิดได้โดยใช้กระบวนการผลิตต่อจากการเพาะเพชรดิบ(Post treatment) เหมือนกันกับการผลิตเพชรสีชมพู สีที่สร้างขึ้นในระหว่างขั้นตอนนี้จะมีลักษณะที่ถาวรและคงที่โดยจะมีการสึกหรอไปตามสภาพการใช้งานโดยปกติ ในกรณีที่มีการฝัง ซ่อม หรือให้บริการใดๆกับเพชรที่มีสีต้องระมัดระวังหากมีการสัมผัสกับอุณหภูมิสูง เช่น ไฟสำหรับเชื่อมอัญมณี เพราะการสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงมากอาจทำให้สีด่างได้

การเปรียบเทียบราคา

เพชรธรรมชาติสีชมพูเป็นเพชรที่หายากที่สุดในโลก เพชรสีชมพูโดยส่วนใหญ่มาจากประเทศออสเตรเลีย และเนื่องจากมีจำนวนที่จำกัดอย่างมาก จึงทำให้เพชรสีชมพูเหล่านี้มีราคาอยู่ระหว่าง 1,500,000 ถึง 5,000,000 บาทต่อกะรัต ในขณะที่ Pink Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีชมพู) จะมีราคาอยู่ที่ระหว่าง 150,000 ถึง 350,000 บาทต่อกะรัต ราคาต่อกะรัตของ เพชรสีชมพูจะขึ้นอยู่กับสีของเพชร


 

รูปทรงที่สามารถผลิตได้

Pink Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีชมพู) ส่วนใหญ่จะทำในรูปทรงเหมือนกันกับ Yellow Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีเหลือง) เพชรสังเคราะห์สีชมพูจะเริ่มจากการเป็น Yellow Lab-Grown Diamond (เพชรแท้จากแล็บสีเหลือง) เมื่อเพชรดิบสีเหลืองที่เพาะขึ้นมีรูปทรงแปดหน้าปลายตัด  ทำให้รูปทรงเหลี่ยม เช่น  ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงปริ๊นเซสส์ ทรงหมอน ทรงเหลี่ยมขั้นบันได และทรงสี่เหลี่ยมมรกต เป็นที่นิยมในการผลิตเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากเพชรดิบสีชมพู ส่วนทรงกลมนั้นก็สามารถผลิตได้ แต่เนื่องจากรูปทรงตามธรรมชาติของเพชรดิบสีชมพูเป็นทรงเหลี่ยม ดังนั้น ทรงรี เช่น ทรงลูกแพร์ ทรงไข่ และทรงมาคีส์ จึงมักไม่ค่อยมีการผลิต